เทรนด์ธุรกิจใหม่บน Metaverse ขยายตลาดได้กว้างไกลทั่วโลก

เทรนธุรกิจใหม่

เทรนด์ธุรกิจที่ใหม่มาแรงและได้รับความสนใจในปี 2022 คงหนีไม่พ้น Metaverse ซึ่งเป็นการค้าปลีกรูปแบบใหม่ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้คุณลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โลกออนไลน์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจอย่าง สหรัฐอเมริกา หรือเกาหลีใต้ก็มีการปรับกลยุทธ์ธุรกิจเข้าสู่เมต้าเวิร์สกันเพิ่มขึ้น

ส่วนประเทศไทยนั้นยังอยู่ในช่วงที่เริ่มต้น และมีธุรกิจรายใหญ่ที่กำลังเข้าสู่ Metaverse เช่นเดียวกัน แต่การจะประสบความสำเร็จนั้นไม่ง่ายเลย เพราะต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยี การยอมรับจากลูกค้าโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบต่าง ๆ อีกด้วย

ความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นสิ่งที่ผู้ทำธุรกิจห้ามมองข้ามเด็ดขาด เนื่องจากในอีก 10 ปีข้างหน้าประชากรไทยจะลดลง และส่งผลต่อการบริโภคภาคการค้าปลีก ดังนั้นธุรกิจบน Metaverse ซึ่งเป็นการดึงรายได้จากช่องทางอื่น ๆ ไม่ใช่การบริโภคที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองตลาดที่ใหญ่กว่าไทย แต่ต้องคำนึงถึงการแข่งขัน กฎหมายและข้อบังคับในอนาคต รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค

จุดเริ่มต้นของธุรกิจรายใหญ่ใน Metaverse ที่ SME ต้องจับตามอง

ดังที่กล่าวไปข้างต้นธุรกิจรายใหญ่ของไทยกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการค้าปลีกบนเมต้าเวิร์ส จากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยคำว่าผู้ประกอบการที่มีความพร้อมด้านเงินทุนและฐานข้อมูลเป็นผู้มีศักยภาพในระยะแรกที่ร่วมลงทุน หรือ Partnership กับธุรกิจที่นอกเหนือจากภาคการค้าปลีก ยางบริษัทเทคโนโลยีแนวหน้า หรือผู้ผลิตแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือผู้ผลิต ในช่วงครึ่งปีแรกเราจะเห็นได้ว่ามีห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ของไทย ร่วมลงทุนกับบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล ในการสร้างชุมชนดิจิทัล เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่จักรวาลนฤมิตนี้

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ค้าปลีกรายย่อยนั้นยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากรและเทคโนโลยี ดังนั้นอาจจะต้องพึ่งพาช่องทางออนไลน์หรือ E-commerce ของรายใหญ่ก่อน เพื่อเป็นตัวกลางในการเข้าสู่เมต้าเวิร์ส เนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาและเทคโนโลยีระดับโลกเพื่อให้บริการแก่รายย่อยและกลางกันแล้ว

ความท้าทายของธุรกิจบนจักรวาลนฤมิต

ประเทศไทยยังคงเผชิญความท้าทายในการทำธุรกิจค้าปลีกบนจักรวาลนฤมิตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวคิดของเมต้าเวิร์สที่ยังสดใหม่อยู่ ยังต้องศึกษาพัฒนา ต่อยอดอีกยาวไกล และข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีด้วยความที่ราคาสูงลิ่วจึงยังไม่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการเข้าสู่เมต้าเวิร์ส นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วขั้นสูงเมื่อเทียบกับประเทศผู้นำ ส่วนสุดท้ายคือกฎระเบียบที่ใช้จัดการบนโลกเมต้าเวิร์สทั้งการทำธุรกรรม การแข่งขัน ความปลอดภัยในข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์และลิขสิทธิ์

ยกตัวอย่างกรณีต่างประเทศที่มีการฟ้องร้องลิขสิทธิ์ NFT กันมากขึ้น ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น และการใช้คริปโตในการชำระค่าบริการก็ท้าทายไม่น้อย นอกจากนี้ต้องเกิดการยอมรับและความสนใจของผู้บริโภคอย่างกว้างขวางก่อน ว่ามีดีอย่างไรต้องใช้บริการบนโลกเสมือนมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง

สำรวจธุรกิจไทยที่เข้าสู่ METAVERSE

1.บริษัทเมตาเวิร์ส ไทยแลนด์ (Metaverse Thailand)

เจ้าแรกในไทยที่ให้บริการซื้อขายที่ดินดิจิทัล เมื่อทำการครอบครองพื้นที่แล้ว (ทรัพย์สินจะเก็บในรูป NFT) จะสามารถสร้างโฆษณา สร้างตึกหรือบ้าน พร้อมกับทำกิจกรรมอย่าง การประชุมออนไลน์และการขายสินค้า เช่น NFT ซึ่งสิทธิ์ในการครอบครองสามารถเปลี่ยนเจ้าของได้

2.บริษัทนันยาง (Nanyang)

หลายคนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว สำหรับแบรนด์รองเท้าที่มีมานาน ซึ่งในขณะนี้มีการเข้าสู่ Metaverse ด้วยการสร้างอาคารรองเท้าแตะในพื้นที่เสมือนของไทย ซอย 8 สำนักงานทองหล่อ บน Metaverse Thailand ซึ่งความแตกต่างเล็ก ๆ ที่นันยางเปลี่ยน คือ ชื่อ จากช้างกดาวเป็นช้างจักรวาล และสามารถชำระเงินได้ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี สามารถเข้าไปดูโลกเสมือนนี้ได้ที่ Term & Condition Metaverse Thailand (Beta Version)

จุดเริ่มต้นของธุรกิจไทยบนเมต้าเวิร์สที่ SME ต้องจับตามอง

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับเทรนด์ธุรกิจบน Metaverse ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ จะเห็นได้ว่าธุรกิจรายใหญ่เริ่มมีการร่วมลงทุนและให้ความสนใจกับเทรนด์นี้ แน่นอนว่าการเริ่มต้นย่อมมีอุปสรรคท้าทายเสมอ ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ทั้งนี้ธุรกิจรายย่อยก็ควรจับตามองไว้ให้ดีว่าการค้าปลีกจะเดินไปในทิศทางใด